วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่16
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้เป็นวันเรียนชดเชย อาจารย์ให้สอบร้องเพลง โดยอาจารย์จะสุ่มเลขที่แล้วให้ออกมาจับฉลากว่าจะได้เพลงอะไรแล้วก็ให้ร้องเพลงที่ตนเองจับได้ 
     และวันนี้ก็เป็นวันสุดท้ายของการเรียนค่ะก่อนจะปิดคอสอาจารย์ก็ได้ให้พรกับนักศึกษาทุกคนค่ะ



วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่15
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ

      โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟู
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
 IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยาวประจำปี ระยะสั้น
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพ
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นนวทางในการจัดการเรียนสอนที่ตรงกับความสามารถของความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลง
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างน่อเนื่อง
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
กำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
- กำหนดให้ชัดเจน
      -น้องนุ่มช่วยเหลือตนเองได้
      -น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้
      -น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายของเด็ก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3วัน
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ที่ไหน
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัด
- การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
การทำ IEP
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน

ท้ายชั่วโมงอาจารย์ก็ได้ให้จับกลุ่มละ5คน เขียนแผนการสอนเป็นกลุ่มแล้วส่งท้ายชั่วโมงค่ะ

ภาพประกอบกิจกรรม





ประเมิน

ตนเอง  มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจเรียนถึงจะคุยเยอะไปหน่อยแต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอนทุกครั้งและตั้งใจเขียนแผนจนเสร็จค่ะ
เพื่อน  เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมในการเขียนแผนเป็นอย่างดีค่ะ
อาจารย์  สอนได้ระเอียดและเข้าใจดีค่ะ มีการยกตัวอย่างกิจกรรมประกอบด้วยค่ะเพื่อที่จะให้นักศึกษาเข้าใจในการเขียนแผนค่ะ






 























วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่14
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20





วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ




บันทึกอนุทินครั้งที่13
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ

       อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบของสัปดาห์ที่แล้วว่าตอบแบบไหนถึงจะถูกต้องที่สุด

 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
      ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
       เป้าหมาย
 - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
 - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
 - เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
 - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
 - อยากสำรวจ อยากทดลอง
      ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
      การเลียนแบบ
      การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
      การรับรู้การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น 
 - ตอบสนองอย่างเหมาะสม
      การควบคุมกล้ามเนื้อ
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
 - ศิลปะ
- มุมบ้าน
 - ช่วยเหลือตนเอง
      ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
      ความจำ
- จากการสนทนา 
 - เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง 
 - จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
 - เล่นเกมทายของที่หายไป
      ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
      การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก


ภาพประกอบกิจกรรม



การประเมิน

ตนเอง  มาตรงเวลาค่ะตั้งใจฟังอาจารย์เฉลยข้อสอบและตั้งใจฟังอาจารย์สอน ถึงจะมีคุยบ้างเป็นบางครั้งค่ะ
เพื่อน  เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนดีค่ะ มีส่วนร่วมทุกครั้งในการทำกิจกรรมแต่ก็มีคุยเสียงดังบ้าง
อาจารย์  อาจารย์ใจดีตั้งใจสอนค่ะ สอนได้ชัดเจนและเข้าใจค่ะอาจรย์จะยกตัวอย่างประกอบเพิ่มเติมให้เข้าใจยิ่งขึ้น




















วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่12
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20



*วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ





บันทึกอนุทินครั้งที่11
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20





    *วันนี้อาจารย์ให้สอบย่อยเก็บคะแนนในสิ่งที่เรียนมา จำนวน5ข้อ 10คะแนน ข้อสอบเป็นข้อสอบแบบอัตนัย โดยเน้นการวิเคราะห์