วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่10
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ
 
          วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
- เด็กต้องมีอิสระ ทำได้ด้วยตนเอง
-การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ
-การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
 - อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง 
 - เชื่อมั่นในตนเอง
 - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  (อายุ 3-4 ปี)
การแต่งตัว
- ถอดเสื้อได้เรียบร้อย รวดเร็ว
- ใส่เสื้อ ,ถอดกระดุม ,ซิปได้คล่อง
- เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้
การกินอาหาร
- ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
- รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
- กินอาหารรวมกับคนอื่นในครอบครัวได้ แต่อาจอืดอาด
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
- ชอบอาบน้ำเอง
- เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
- อาบไม่สะอาด
- ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ
ทั่วไป
- บอกอายุ เพศ ชื่อนามสกุล ตนเองได้
- ทำตามคำสั่ง 2-3 อย่างได้
- แยกจากพ่อแม่ไปโรงเรียนได้
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน
(เช่นการเข้าส้วม)
1.) เข้าไปในห้องส้วม 
 2.) ดึงกางเกงลงมา 
 3.) ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.) ปัสสาวะหรืออุจจาระ 
 5.) ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
 6.) ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.) กดชักโครกหรือตักน้ำราด 
 8.) ดึงกางเกงขึ้น 
 9.) ล้างมือ 
 10.) เช็ดมือ
11.) เดินออกจากห้องส้วมการ
วางแผนทีละขั้น
- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

      ท้ายชั่วโมงอาจรย์ก็แจกกระดาษให้คนละแผ่นพร้อมกับสีเทียนให้ระบายสีวงลมตามใจชอบจะเอาสีอะไรก็ได้จะเอากี่สีก็ได้ พอระบายเสร็จแล้วก็นำมาตัดตามรูปที่เราวาดแล้วอาจารย์ก็จะบอกว่าวงกลที่เราวาดนั้นบอกถึงลักษณะของเราอย่างไร แล้วก็ให้นำไปแปะรวมใส่ต้นไม้รวมกันกับเพื่อน


ภาพกิจกรรม






การประเมิน
 
   ตนเอง  ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มานำมาให้
   เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจเรียน เข้าตรงต่อเวลาและตั้งใจทำงานและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆเป็นอย่างดีค่ะ
  อาจารย์  ตั้งใจสอนและมีกิจกรรมก่อนเรียนมาให้ทำด้วยค่ะทำให้น่าเรียนและสนุกตื่นตัวก่อนที่จะเรียน และอาจารย์ก็สอนได้เข้าใจและยังให้ทำกิจกรรมวงกลมอีกด้วยค่ะ












วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่9
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ
    ก่อนที่อาจารย์จะเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้มีกิจกรรมมาให้เล่นก่อน คือ กิจกรรมทุ่งหญ้าซาวันน่า  วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง - ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
เด็กตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เช่น
- เสียงของครูโดยหันมามอง
- ต่อคำถาม "เอาอะไร"ด้วยการชี้
- ต่อประโยค "ช่วยเอาให้ที"
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก


        กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมศิลปะบำบัด อาจารย์ให้จับคู่2คนแล้วก็ให้ไปเอาสีเทียนคนละ1แท่งเพื่อให้วาดเส้นตามจินตนาการของตนเองค่ะ แล้วอาจารย์ก็จะดูว่าจะมีพฤติกรรมอย่างไร


ภาพกิจกรรม




การประเมิน 

   ตนเอง  ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมค่ะ เข้าเรียนตรงเวลา
   
   เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีค่ะ สนใจทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือค่ะ

   อาจารย์  อาจารย์สอนได้เข้าใจและมีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียนทำให้สนุกตื่นเต้นไม่น่าเบื่อค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่8
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์ติดธุระค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่7
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20





วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ
เนื่องจากเป็นการสอบกลางภาคค่ะ


บันทึกอนุทินครั้งที่6
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ
    
          ในสัปดาห์นี้ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์ได้มีกิจกรรมให้เล่นเพื่อผ่อนครายความเครียด "กิจกรรมรถไฟเหาะแห่งชีวิต" 
           การส่งเสริมทักษะต่างไของเด็กพิเศษ
 ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึงยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก - ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครูให้เด็กพิเศษ
ครูควรปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
 - ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป 
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน 
 - ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ 
 - การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
      กิจกรรมสุดท้ายที่อาจารย์ให้ทำคือ กิจกรรมศิลปะดนตรีบำบัดเด็ก อาจารย์ให้จับคู่2คนแล้วอาจารย์มีกระดาษให้1แผ่นและสีเทียนคนละแท่ง แล้วก็ให้ตกลงกันว่าใครจะเป็นเด็กปกติกับเด็กพิเศษ และก็ให้ตกลงอีกว่าคนไหนจะเป็นคนวาดเส้นคนไหนจะเป็นคนวาดจุด แล้วอาจารย์ก็เปิดเพลงให้คนที่วาดเส้นก็วาดลงโดยห้ามยกมือส่วนคนที่วาดจุดก็ให้วาดตามที่เพื่อนวาดเส้น พอจบเพลงแล้วอาจารย์ก็ให้มองแล้ววาดให้ออกมาเป็นรูปร่างตามที่เรามองเห็นแล้วก็ออกนำเสนอหน้าชั้นค่ะ

ภาพประกอบกิจกรรม






การประเมิน
ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมค่ะ
เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อยให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกครั้งค่ะ
อาจารย์  อาจารย์สอนเนื้อหาได้ละเอียดและเข้าใจค่ะมียกตัวอย่างประกอบและมีกิจกรรมสอดแทรกทำให้มีความน่าสนใจไม่เบื่อค่ะ