วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่16
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้เป็นวันเรียนชดเชย อาจารย์ให้สอบร้องเพลง โดยอาจารย์จะสุ่มเลขที่แล้วให้ออกมาจับฉลากว่าจะได้เพลงอะไรแล้วก็ให้ร้องเพลงที่ตนเองจับได้ 
     และวันนี้ก็เป็นวันสุดท้ายของการเรียนค่ะก่อนจะปิดคอสอาจารย์ก็ได้ให้พรกับนักศึกษาทุกคนค่ะ



วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่15
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ

      โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟู
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
 IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยาวประจำปี ระยะสั้น
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพ
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นนวทางในการจัดการเรียนสอนที่ตรงกับความสามารถของความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลง
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างน่อเนื่อง
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
กำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
- กำหนดให้ชัดเจน
      -น้องนุ่มช่วยเหลือตนเองได้
      -น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้
      -น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายของเด็ก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3วัน
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ที่ไหน
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัด
- การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
การทำ IEP
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน

ท้ายชั่วโมงอาจารย์ก็ได้ให้จับกลุ่มละ5คน เขียนแผนการสอนเป็นกลุ่มแล้วส่งท้ายชั่วโมงค่ะ

ภาพประกอบกิจกรรม





ประเมิน

ตนเอง  มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจเรียนถึงจะคุยเยอะไปหน่อยแต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอนทุกครั้งและตั้งใจเขียนแผนจนเสร็จค่ะ
เพื่อน  เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมในการเขียนแผนเป็นอย่างดีค่ะ
อาจารย์  สอนได้ระเอียดและเข้าใจดีค่ะ มีการยกตัวอย่างกิจกรรมประกอบด้วยค่ะเพื่อที่จะให้นักศึกษาเข้าใจในการเขียนแผนค่ะ






 























วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่14
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20





วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ




บันทึกอนุทินครั้งที่13
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ

       อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบของสัปดาห์ที่แล้วว่าตอบแบบไหนถึงจะถูกต้องที่สุด

 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
      ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
       เป้าหมาย
 - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
 - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
 - เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
 - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
 - อยากสำรวจ อยากทดลอง
      ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
      การเลียนแบบ
      การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
      การรับรู้การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น 
 - ตอบสนองอย่างเหมาะสม
      การควบคุมกล้ามเนื้อ
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
 - ศิลปะ
- มุมบ้าน
 - ช่วยเหลือตนเอง
      ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
      ความจำ
- จากการสนทนา 
 - เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง 
 - จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
 - เล่นเกมทายของที่หายไป
      ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
      การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก


ภาพประกอบกิจกรรม



การประเมิน

ตนเอง  มาตรงเวลาค่ะตั้งใจฟังอาจารย์เฉลยข้อสอบและตั้งใจฟังอาจารย์สอน ถึงจะมีคุยบ้างเป็นบางครั้งค่ะ
เพื่อน  เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนดีค่ะ มีส่วนร่วมทุกครั้งในการทำกิจกรรมแต่ก็มีคุยเสียงดังบ้าง
อาจารย์  อาจารย์ใจดีตั้งใจสอนค่ะ สอนได้ชัดเจนและเข้าใจค่ะอาจรย์จะยกตัวอย่างประกอบเพิ่มเติมให้เข้าใจยิ่งขึ้น




















วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่12
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20



*วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ





บันทึกอนุทินครั้งที่11
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20





    *วันนี้อาจารย์ให้สอบย่อยเก็บคะแนนในสิ่งที่เรียนมา จำนวน5ข้อ 10คะแนน ข้อสอบเป็นข้อสอบแบบอัตนัย โดยเน้นการวิเคราะห์




วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่10
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ
 
          วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
- เด็กต้องมีอิสระ ทำได้ด้วยตนเอง
-การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ
-การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
 - อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง 
 - เชื่อมั่นในตนเอง
 - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  (อายุ 3-4 ปี)
การแต่งตัว
- ถอดเสื้อได้เรียบร้อย รวดเร็ว
- ใส่เสื้อ ,ถอดกระดุม ,ซิปได้คล่อง
- เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้
การกินอาหาร
- ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
- รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
- กินอาหารรวมกับคนอื่นในครอบครัวได้ แต่อาจอืดอาด
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
- ชอบอาบน้ำเอง
- เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
- อาบไม่สะอาด
- ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ
ทั่วไป
- บอกอายุ เพศ ชื่อนามสกุล ตนเองได้
- ทำตามคำสั่ง 2-3 อย่างได้
- แยกจากพ่อแม่ไปโรงเรียนได้
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน
(เช่นการเข้าส้วม)
1.) เข้าไปในห้องส้วม 
 2.) ดึงกางเกงลงมา 
 3.) ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.) ปัสสาวะหรืออุจจาระ 
 5.) ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
 6.) ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.) กดชักโครกหรือตักน้ำราด 
 8.) ดึงกางเกงขึ้น 
 9.) ล้างมือ 
 10.) เช็ดมือ
11.) เดินออกจากห้องส้วมการ
วางแผนทีละขั้น
- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

      ท้ายชั่วโมงอาจรย์ก็แจกกระดาษให้คนละแผ่นพร้อมกับสีเทียนให้ระบายสีวงลมตามใจชอบจะเอาสีอะไรก็ได้จะเอากี่สีก็ได้ พอระบายเสร็จแล้วก็นำมาตัดตามรูปที่เราวาดแล้วอาจารย์ก็จะบอกว่าวงกลที่เราวาดนั้นบอกถึงลักษณะของเราอย่างไร แล้วก็ให้นำไปแปะรวมใส่ต้นไม้รวมกันกับเพื่อน


ภาพกิจกรรม






การประเมิน
 
   ตนเอง  ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มานำมาให้
   เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจเรียน เข้าตรงต่อเวลาและตั้งใจทำงานและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆเป็นอย่างดีค่ะ
  อาจารย์  ตั้งใจสอนและมีกิจกรรมก่อนเรียนมาให้ทำด้วยค่ะทำให้น่าเรียนและสนุกตื่นตัวก่อนที่จะเรียน และอาจารย์ก็สอนได้เข้าใจและยังให้ทำกิจกรรมวงกลมอีกด้วยค่ะ












วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่9
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ
    ก่อนที่อาจารย์จะเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้มีกิจกรรมมาให้เล่นก่อน คือ กิจกรรมทุ่งหญ้าซาวันน่า  วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง - ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
เด็กตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เช่น
- เสียงของครูโดยหันมามอง
- ต่อคำถาม "เอาอะไร"ด้วยการชี้
- ต่อประโยค "ช่วยเอาให้ที"
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก


        กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมศิลปะบำบัด อาจารย์ให้จับคู่2คนแล้วก็ให้ไปเอาสีเทียนคนละ1แท่งเพื่อให้วาดเส้นตามจินตนาการของตนเองค่ะ แล้วอาจารย์ก็จะดูว่าจะมีพฤติกรรมอย่างไร


ภาพกิจกรรม




การประเมิน 

   ตนเอง  ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมค่ะ เข้าเรียนตรงเวลา
   
   เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีค่ะ สนใจทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือค่ะ

   อาจารย์  อาจารย์สอนได้เข้าใจและมีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียนทำให้สนุกตื่นเต้นไม่น่าเบื่อค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่8
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์ติดธุระค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่7
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20





วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ
เนื่องจากเป็นการสอบกลางภาคค่ะ


บันทึกอนุทินครั้งที่6
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ
    
          ในสัปดาห์นี้ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์ได้มีกิจกรรมให้เล่นเพื่อผ่อนครายความเครียด "กิจกรรมรถไฟเหาะแห่งชีวิต" 
           การส่งเสริมทักษะต่างไของเด็กพิเศษ
 ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึงยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก - ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครูให้เด็กพิเศษ
ครูควรปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
 - ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป 
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน 
 - ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ 
 - การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
      กิจกรรมสุดท้ายที่อาจารย์ให้ทำคือ กิจกรรมศิลปะดนตรีบำบัดเด็ก อาจารย์ให้จับคู่2คนแล้วอาจารย์มีกระดาษให้1แผ่นและสีเทียนคนละแท่ง แล้วก็ให้ตกลงกันว่าใครจะเป็นเด็กปกติกับเด็กพิเศษ และก็ให้ตกลงอีกว่าคนไหนจะเป็นคนวาดเส้นคนไหนจะเป็นคนวาดจุด แล้วอาจารย์ก็เปิดเพลงให้คนที่วาดเส้นก็วาดลงโดยห้ามยกมือส่วนคนที่วาดจุดก็ให้วาดตามที่เพื่อนวาดเส้น พอจบเพลงแล้วอาจารย์ก็ให้มองแล้ววาดให้ออกมาเป็นรูปร่างตามที่เรามองเห็นแล้วก็ออกนำเสนอหน้าชั้นค่ะ

ภาพประกอบกิจกรรม






การประเมิน
ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมค่ะ
เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อยให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกครั้งค่ะ
อาจารย์  อาจารย์สอนเนื้อหาได้ละเอียดและเข้าใจค่ะมียกตัวอย่างประกอบและมีกิจกรรมสอดแทรกทำให้มีความน่าสนใจไม่เบื่อค่ะ
















วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่5
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ

           ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษคนละ1แผ่นและถุงมือคนละ1ข้าง แล้วก็ให้สวมถุงมือในข้างทีเราไม่ถนัด แล้วก็ให้วาดมือข้างที่ไม่ถนัดให้เหมือนจริงที่สุด ว่ามือที่เราอยู่ด้วยมา20ปีนั้นเราจำอะไรได้บ้าง  ในวันนี้ก็ได้เรียนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ
   การฝึกเพิ่มเติม
- อบรมระยะสั้น สัมมนา
- สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
- ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็น ''เด็ก''
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
-การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
-วุฒิภาวะ
-แรงจูงใจ
-โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
-.ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-เด็กเข้าหาครูมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
-ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
-ครูต้องมีความสนใจเด็ก
-ครูต้องมีความรู้สึกดีต่อเด็ก
ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
-ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
อุปกรณ์
-มีลักษณะง่ายๆ
-ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
ตารางประจำวัน
-เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ประจำ
-กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
-เด็กจะรู้สึกและมั่นใจ
-คำนึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
การยืดหยุ่น
-การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-ยอมรับของเขตความสามารถของเด็ก
-ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
-ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
-สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการใช้แรงเสริม
-ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
-มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็กและมักเป็นผลในทันที
-หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงจากผู้ใหญ่
-ตอบสนองด้วยวาจา
-การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
-สัมผัสทางกาย
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
-ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท
-ย่อยงาน
-ลำดับความยากง่ายของงาน
-การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-วิเคราะห์งานกำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
-สอนจากง่ายไปยาก
-ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
การกำหนดเวลา
-จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องการมีความเหมาะสม
การลดหรือหยุดแรงเสริม
-ครูจะงดแรงเสริมเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ด

ภาพกิจกรรม













วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่4

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ

            ในสัปดาห์นี้อาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง"บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม"แต่ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหานี้ อาจารย์ก็ได้ให้ทำกิจกรรมก่อน กิจกรรมก่อนเรียนก็คืออาจารย์ให้วาดรูปภาพดอกหางนกยุง วาดให้เหมือนจริงที่สุดพร้อมกับอธิบายสิ่งที่เห็นใต้ภาพด้วยว่าเราเห็นอะไรในภาพนั้น   จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหาในหัวข้อ บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม อาจารย์ก็ได้อธิบายได้อย่างละเอียดและเข้าใจค่ะ

1. ครูไม่ควรวินิจฉัย

      - การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง

      - จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด

2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

      - เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

      - ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป

      - เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

      - พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญญา

      - พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว

      - ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ

4. ครูทำอะไรบ้าง

      - ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ

      - สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

      - จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

5. สังเกตอย่างมีระบบ

      - ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู

      - ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่า

      - ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลีนิค มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

6. การตรวจสอบ

      - จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร

      - เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น

7. ข้อควรระวังในการปฎิบัติ

      - ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้

      - ประเมินและให้น้ำหนักของความสำคัญเรื่องต่างๆได้

8. การบันทึกการสังเกต

      - การนับอย่างง่ายๆ

      - การบันทึกต่อเนื่อง

      - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

9. การนับอย่างง่ายๆ

      - นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม

      - ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

10. การบันทึกต่อเนื่อง

      - ให้รายละเอียดได้มาก

      - เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง

11. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

      - บันทึกลงบัตรเล็กๆ

12. การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป

      - ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง

      - พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

13. การตัดสินใจ

      - ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง

      - พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่



            หลังจากที่เรียนรู้เรื่องบทบาทในห่องเรียนครูเสร็จแล้วอาจารย์ก็มีกิจกรรมร้องเพลงต่อ อาจารย์ให้ร้องเพลง "ฝึกกายบริหาร" ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ และพร้อมกับไปซ้อมร้องมาให้ดีเพื่อที่จะมาร้องต่อในสัปดาห์ต่อไปค่ะ



 ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกสยแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกสยแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


ภาพกิจกรรม












             

บันทึกอนุทินครั้งที่3
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20



"ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ เนื่องจากวันนี้อาจารย์ติดธุระที่จะต้องไปสัมมนาวิชาการบริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา อาจารย์จึงให้ไปศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองค่ะ"


                       

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่2
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20

ความรู้ที่ได้รับ

          วันนี้อาจารย์ได้สอนรวมกับกลุ่มตอนบ่ายเพราะว่าตอนเช้าอาจารย์ติดธุระค่ะ วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่นวกับ 
          รูปแบบการจัดการศึกษา
               - การศึกษาปกติทั่วไป
               - การศึกษาพิเศษ
               - การศึกษาแบเรียนร่วม
               - การศึกษาแบบเรียนรวม
          การศึกษาแบบเรียนร่วม หมายถึง การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมให้เด็กพิเศษกับเด็กปกติทั่วไปทำร่วมกัน ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง และครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
          การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล  เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเรา เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
          ความสำคัญชองการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
               - ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการเรียนรู้
               - สอนได้
               - เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
          การศึกษาแบบเรียนร่วมกับการศึกษาแบบเรียนรวมต่างกันอย่างไร = การศึกษาแบบเรียนร่วมจะรับเด็กเข้ามาเป็นบางช่วงเวลาของการทำกิจกรรมแต่การศึกษาแบบเรียนรวมจะรับเด็กเข้ามาตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาค่ะ
          พออาจารย์สอนเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบ3ข้อ 1.) การศึกษาแบบเรียนรวมภาษาอังกฤษเขียนว่าอย่างไร 2.) การศึกษาแบบเรียนร่วมกับการศึกษาแบบเรียนรวมต่างกันอย่างไร 3.) เด็กพิเศษควรเรียนเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย ในความคิดของนักศึกษา

             ภาพกิจกรรม



การประเมิน

       ตนเอง  แต่งกายเรียบร้อย มีคุยกับเพื่อนบ้าง แต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และตั้งใจทำแบบทดสอบค่ะ
       เพื่อน  เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียน มีคุยเสียงดังบ้าง ตังใจทำแบบทดสอบที่อาจารย์ให้ทำเป็นอย่างดี
       อาจารย์  อาจารย์สอนได้เข้าใจดีค่ะว่าการศึกษาแบบเรียนร่วมกับแบบเรียนรวมต่างกันอย่างไร ในระหว่างสอนอาจารย์ก็แทรกกิจกรรมการร้องเพลงเข้าด้วยทำให้เรียนสนุกไม่เครียดค่ะ





















วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่1
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558
กลุ่ม 101 เวลา 08:30-12.20


ความรู้ที่ได้รับ
         
         วันนี้เป็นสัปดาห์ที่สองการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ก็ได้แจกกระดาษให้คนละ1แผ่น เพื่อที่ให้นักศึกษาได้เขียนความรู้จากประสบการณ์เดิมที่เหลืออยู่ในรายวิชาเด็กที่ความต้องการพิเศษว่าในเทอมที่แล้วที่เราเรียนมาเราได้ความรู้อะไรและมีความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพิเศษอย่างไร สามารถบอกได้หรือไม่ว่าเด็กพิเศษมีกี่ประเภทและเด็กพิเศษแต่ละประเภทมีลักษณะและพฤติกรรมบ่งบอกอย่างไร และมีแนวทางในการแก้ไขเด็กเหล่านี้อย่างไรให้สามารถเรียนรวมกับเด็กปกติได้ อาจารย์ก็ได้ให้เขียนตามความเข้าใจในเทอมที่แล้วที่เราได้เรียนมานั่นเองค่ะ    จากนั้นอาจารย์ก็ได้แจกเนื้อเพลงให้คนละ1แผ่นมีทั้งหมด5เพลง แต่อาจารย์สอนร้องแค่เพลงเดียวก่อน คือเพลงนม ค่ะ แล้วอาจารย์ก็ให้ร้องทีละกลุ่ม และอาจารย์ก็ได้ให้ไปฝึกร้องใหม่เพื่อที่จะนำมาร้องในสัปดาห์ต่อไปค่ะ

ภาพประกอบการทำกิจกรรม

เนื้อเพลง





การประเมิน

ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำแบบทดสอบที่อาจารย์ให้

ประเมินเพื่อน  เพื่อนก็ตั้งใจเรียนมีคุยบ้างเล็กน้อยแต่ก็ตั้งใจร่วมกิจกรรมร้องเพลงกันทุกคน
ประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์ไม่ค่อยสบายไม่ค่อยมีเสียงแต่อาจารย์ก็มาสอนตามปกติ มีความรับผิดชอบในการมาสอนค่ะ อาจารย์ก็ได้ให้ทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้เดิมในรายวิชาเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าเรามีความรู้เดิมมากน้อยแค่ไหนค่ะ ชอบอาจารย์ใจดีน่ารัก